สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

ซ่อม(ฟัน)เท่าไร ก็ไม่เสร็จ

บทความนี้ คัดลอกมากจากหนังสือ "ครบเครื่องเรื่องฟัน FUN"

จัดพิมพ์โดย คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

ซ่อม (ฟัน) เท่าไร ก็ไม่เสร็จ

 

ศ.ทพญ. ดร.สุดาดวง กฤษฎาพงษ์

    อย่ากระหยิ่มใจไปว่าทุกอย่างจะเสร็จสิ้นเรียบร้อยดีแล้ว เมื่อคุณไปพบ ทันตแพทย์เพื่ออุดฟันที่ผุ ปรมาจารย์ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านอุดฟันท่านหนึ่งแห่ง ประเทศอังกฤษ ลุกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์งานของตัวเองว่าเป็น “vicious cycle” หรือ “วงจรอุบาทว์” เมื่อเขาทําวิจัยแล้วพบว่าร้อยละ 70 ของงานอุดฟันซ่อมฟันใน ประเทศอังกฤษเป็นการอุดซ้ำรอยอุดเดิม และทุกครั้งที่ต้องอุดซ้ำ ย่อมหมายถึง รอยอุดที่กว้างขึ้นเรื่อยๆ

     เริ่มต้นจากมีรอยผุรูเล็กๆ เมื่ออายุสิบกว่าขวบ พออายุ 20 ปี ก็ต้องมารื้อออกแล้วอุดใหม่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเต็มด้านฟัน พออายุ 28 ปี ก็รื้อออกอุดใหม่เต็มทั้งตัวฟัน  พออายุ 35 ปี ก็รื้อออก ที่นี้อุดไม่ไหวแล้ว เพราะเนื้อฟันเหลือน้อยมาก ก็ต้อง ครอบฟัน พอสัก 40 กว่าปี ก็ต้องมารักษารากฟัน แถมด้วยใส่ครอบฟันตัวใหม่ 50 ปี ก็ต้องถอนออกแล้วใส่ฟันปลอม   60 ปี ฟันข้างๆ ที่ครอบไว้เพื่อเป็นหลักยึดฟันปลอม ก็ดันผุขึ้นมาอีก ต้องมารื้อออกกันใหม่ ซ่อมใหม่ทั้งฟันซี่เดิม และฟันข้างเคียงข้างเคียง ที่นี้ก็ใส่รากเทียมกันดีกว่า

     ปรากฏการณ์ของการรักษาแบบก้าวร้าวที่เกิดขึ้นในชั่วชีวิตนี้ อาจไม่เคยถูก สังเกตจากตัวผู้ป่วย และไม่เคยถูกสนใจจากทันตแพทย์  ฝ่ายหนึ่งก็คิดว่ามีอาการ ก็ไปรักษาเสีย อีกฝ่ายก็คิดว่ารักษาให้ดีที่สุดก็พอแล้ว การรักษาฟันที่มีรอยผุกว้างขึ้น เรื่อยๆ หมายถึง เวลาในการรักษาที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ต้นทุนและค่ารักษาที่สูงขึ้น เรื่อยๆ ตลอดจนความต้องการทันตแพทย์ที่มีฝีมือเฉพาะทางมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งย่อมส่ง ผลกระทบ ความยุ่งยากให้กับผู้ป่วยมากขึ้น และไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้องของวิชาชีพ ในการดูแลรักษาสุขภาพฟันของประชาชนทั้งประเทศ

     ปรมาจารย์ทันตแพทย์ท่านนั้นจึงลุกขึ้นมาประกาศให้ทุกคนหันมาให้ความ สําคัญกับการป้องกันฟันผุ มากกว่าง่วนอยู่กับการรักษาซ่อมฟันอย่างไม่จบสิ้น

การที่ผู้ป่วยมีฟันผุ แสดงว่าผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ และ หากพฤติกรรมยังคงเหมือนเดิม การอุดฟันก็เป็นเพียงแค่การยับยั้งไว้ชั่วคราว เพื่อรอคอยรอยผุใหม่ที่จะเกิดขึ้นซ้ำนั่นเอง การรักษาจึงเป็นแค่การแก้ไขที่ปลายน้ำ (downstream) ซึ่งไม่มีทางจบสิ้น หากสาเหตุที่ต้นน้ำ (upstream) ยังไม่ได้รับการแก้ไข

     อย่า! ชะล่าใจไปว่า ท่านอุดฟันเรียบร้อยดีแล้ว สํารวจการแปรงฟันของ ตนเองว่าได้รับฟลูออไรด์เต็มที่แล้วหรือยัง แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ อย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน แปรงแห้ง ไม่ต้องบ้วนน้ำตาม และไม่กินดื่มหลังแปรงเสร็จ ครึ่งชั่วโมง พิจารณาพฤติกรรมการกินว่ายังกินอาหารหวานจุบจิบหรือไม่ ลด อาหารที่มีน้ำตาล อย่ากินบ่อย เลือกที่ไม่มีน้ำตาลหรือน้ำตาลต่ำ โดยเฉพาะเครื่องดื่ม ก่อนออกจากห้องฟัน หันไปบอกคุณหมอสักหน่อยว่า ท่านจะปรับปรุงพฤติกรรม เป็นคนไข้ที่ดี เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมาหาคุณหมออีกนานๆ

 

บ้านทันตแพทย์คลินิก,ทำฟัน,จัดฟัน,ฟอกสีฟัน,รักษารากฟัน,รากฟันเทียม,รากเทียม,ครอบฟัน,ใส่ฟันปลอม,วีเนีย,รักษาฟันหน้าห่าง,ผ่าฟันคุด,ฟันผุ,แปรงแห้ง,เหงือกร่น

view