สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

การติดเชื้อที่มีสาเหตุมาจากฟันคุด

บทความนี้ คัดลอกมากจากหนังสือ "ครบเครื่องเรื่องฟัน FUN"

จัดพิมพ์โดย คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

การติดเชื้อ ที่มีสาเหตุจากฟันคุด

ทพญ.ดร.ภัคสินี กมลรัตนกุล

      ฟันคุดที่เคยสงบนิ่งอยู่ในเหงือกหรือในกระดูกเราจะไม่ใช่เรื่องเล็กๆ อีกต่อไป หากมันเกิดมีอาการขึ้นมา ในกรณีที่มีอาการรุนแรงทําให้มีการติดเชื้อไม่ว่าจะเป็น ในช่องปากหรือลามไปจนถึงติดเชื้อใบหน้าและลําคอ ก็อาจจะทําให้เกิดอันตรายมาก ถึงกับต้องนอนโรงพยาบาลเลยก็เป็นได้

    เริ่มง่ายๆ จากการสังเกตตัวเอง หากมีอาการหรือมีประวัติของอาการดัง ต่อไปนี้ ต้องระวังเรื่องการติดเชื้อจากฟันคุดและควรไปปรึกษาทันตแพทย์ อาการ ดังกล่าวคือ ปวดบวมบริเวณฟันคุดการบวมแดงของเหงือกรอบๆ ฟันคุดมีกลิ่นปาก มีรสชาติแปลกๆ ในช่องปาก อ้าปากได้น้อยลง แก้มบวม หรือบวมบริเวณใบหน้า กลืนน้ำลายลําบาก กลืนน้ำลายเจ็บคอ มีไข้ เป็นต้น หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน ความรุนแรงจะพัฒนาจากแค่อาการอักเสบ บวม เจ็บ กลายเป็นหนอง หรือการติดเชื้อลุกลามไปจนเข้าไปบริเวณใบหน้าหรือลําคอการติดเชื้อลามเข้าสู่ช่องว่างเนื้อเยื่อในลําคอ อาจเป็นอันตราย ทําให้หายใจลําบากได้  ดังนั้นหากมีอาการหรือมีประวัติดังกล่าว ควรไปพบทันตแพทย์โดยเร็วที่สุด การซื้อยาปฏิชีวนะมารับประทานเองนั้นมีความเสี่ยงว่ายาอาจจะไม่ครอบคลุมเชื้อ ในช่องปาก หรือได้รับยาในช่วงเวลาหรือปริมาณที่ไม่ถูกต้องได้ หากมียาที่ซื้อ รับประทานเองอยู่ด้วย ควรนํามาให้ทันตแพทย์ช่วยดูด้วย

     การรักษา แน่นอนว่าต้องเอาสาเหตุหรือตัวฟันคุดออกนั่นเอง แต่ขึ้นอยู่กับ สภาวะการติดเชื้อในขณะนั้นด้วย หากเป็นแบบเฉียบพลัน มีอาการบวมแดงของ เหงือกมากและอ้าปากได้น้อย อาจจะจําเป็นต้องให้ยารักษาอาการก่อน ทั้งยา บรรเทาอาการปวดและยาปฏิชีวนะ ร่วมกับการล้างทําความสะอาดบริเวณดังกล่าว เมื่ออาการดีขึ้นจึงทําการผ่าตัดนําฟันคุดออก หากอาการไม่รุนแรงมาก สามารถ ผ่าตัดได้เลย ร่วมกับให้ยาปฏิชีวนะก่อนและหลังการผ่าตัด ในกรณีที่การติดเชื้อ ทําให้เกิดการบวมลุกลาม หรือมีหนองสะสม อาจต้องเปิดระบายหนองร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของทันตแพทย์ผู้ให้การรักษา

     ส่วนเรื่องของการนอนโรงพยาบาลนั้น ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของผู้ป่วยว่า มีโรคทางระบบอื่นๆ หรือมีไข้สูง รับประทานอาหารไม่ได้ ขาดน้ำ หรือระดับการ ติดเชื่อนั้นรุนแรงเข้าช่องว่างของใบหน้าและลําคอ หรือมีเรื่องของทางเดินหายใจ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์หรือทันตแพทย์เช่นเดียวกัน

     การดูแลตัวเองภายหลังการผ่าตัดฟันคุดคือ รับประทานยาตามทันตแพทย์ แนะนํา บ้วนปากและแปรงฟันให้สะอาด และกลับมาพบทันตแพทย์ตามคําแนะนํา การรักษาที่ดีที่สุดคือ การป้องกันและดูแลตัวเอง หมั่นไปตรวจสุขภาพช่องปากตาม ทันตแพทย์นัดเป็นประจํา

 

บ้านทันตแพทย์คลินิก,ทำฟัน,จัดฟัน,ฟอกสีฟัน,รักษารากฟัน,รากฟันเทียม,รากเทียม,ครอบฟัน,ใส่ฟันปลอม,วีเนีย,รักษาฟันหน้าห่าง,ผ่าฟันคุด

Tags : ฟันคุด

view